ปีงบประมาณ 2565 (1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565)

 ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง  

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ภาคเรียนที่ 2/64 

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1.1  ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน   19.16    ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

     1. รายวิชาเคมี 2  รหัสวิชา ว31222   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 2.5  ชั่วโมง/สัปดาห์ 

     2. รายวิชาเคมี 4  รหัสวิชา ว31222   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 2.5  ชั่วโมง/สัปดาห์      

     3. รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพเคมี  รหัสวิชา ว30182   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 1.67 ชั่วโมง/สัปดาห์

      4. รายวิชาเคมีในชีวิตประจำวัน  รหัสวิชา ว30226   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์  

      5. รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพเคมี  รหัสวิชา ว30182   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 1.67 ชั่วโมง/สัปดาห์

      6. รายวิชาวิทยาการคำนวณ  รหัสวิชา ว23104 ชั้น   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1-4 จำนวน  3.33 ชั่วโมง/สัปดาห์

       7. รายวิชาการเขียนโปรแกรมด้วยคอมพิวเตอร์  รหัสวิชา ว23210 ชั้น   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1-4 จำนวน  3.33 ชั่วโมง/สัปดาห์

        8. รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพเคมี  รหัสวิชา ว30182   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 1.67 ชั่วโมง/สัปดาห์  

     กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน


1.3  งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

              หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  จำนวน   3  ชั่วโมง

           หัวหน้างาน 1. วิจัยและพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี     

                             2. ประชาสัมพันธ์ 

            งานประกันคุณภาพภายใน                                         จำนวน  1  ชั่วโมง

            คณะทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย                          จำนวน  1 ชั่วโมง

1.4  งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

ภาคเรียนที่ 1/65

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี            

    1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน   16.67   ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

            กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

        กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

1.2  งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 ชั่วโมง/สัปดาห์

        จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้                จำนวน  3  ชั่วโมง

           สร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน          จำนวน  3  ชั่วโมง   

           เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จำนวน  1  ชั่วโมง

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

          หัวหน้างาน 1. วิจัยและพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี   จำนวน  3  ชั่วโมง

                             2. ประชาสัมพันธ์

              งานประกันคุณภาพภายใน                                         จำนวน  1  ชั่วโมง

               คณะทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย                             จำนวน  1 ชั่วโมง

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู 

1.ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย 

ประเด็นท้าทาย

เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เคมีอินทรีย์ โดยทฤษฎี 5E ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล สู่ทักษะอาชีพ  รายวิชา เคมี 5  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6



1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน 

         จากผลการวิเคราะห์คุณลักษณะที่ จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในยุคศตวรรษที่ 21 และในอนาคต จาก โครงการ PISA (Program for International Student Assessment) ได้พบว่า สมรรถนะ คือคุณลักษณะสำคัญของคนที่ ประสบความสำเร็จในชีวิตและอาชีพการงาน (successful life) และบุคลที่สามารถส่งต่อคุณค่าให้กับสังคม (Well Functioning Society)ได้ สมรรถนะให้ความสำคัญกับการใช้ความรู้ทักษะ เจตคติค่านิยมอย่างมี ประสิทธิภาพ ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาภาคบังคับตามระบบการศึกษาของประเทศไทยแล้ว ควรมีระดับ สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน แต่นักเรียนในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังมีระดับความสมรรถนะต่ำกว่า ระบดับพื้นฐาน ซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ทักษะการคิดของนักเรียนในรายวิชาเคมี 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระดับ “ผ่าน” เท่านั้น  การพัฒนาความรู้และทักษะดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรมและสื่อการสอนสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เนื้อหาวิชาเคมี มีหลายเรื่องที่เป็นนามธรรมนักเรียนทำความเข้าใจได้ยาก นวัตกรรมและสื่อการสอนเป็นสิ่งที่ช่วยเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาจากผู้สอนไปยังผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้น ช่วยให้เกิดความคิดมโนมติในเรื่องที่ศึกษาได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ช่วยกระตุ้นเร้าความสนใจของผู้เรียนทำให้เกิดความรู้สนุกสนานอยากเรียน ส่งผลให้การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการจัดการเรียนรู้ที่จะกระตุ้นให้นักเรียนเกิดทักษะเหล่านี้  จะมีการสอนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้  (5Es)  หรือทฤษฎี 5E ที่น่าสนใจ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้ สถานการณ์หรือกิจกรรมบางอย่างที่น่าสนใจ โดยผู้สอนใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจอยาก เรียนรู้ในหัวข้อนั้น ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เป็นการทำความเข้าใจในประเด็นที่ สนใจจะศึกษา แล้ววางแผนดำเนินการสำรวจตรวจสอบ ผ่านการปฏิบัติการทดลองด้วยตนเองเพื่อ เก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการ สำรวจตรวจสอบแล้วมาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปแบบต่าง ๆ ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการน าความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยง กับความรู้เดิมหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายเหตุการณ์อื่น ๆ  ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ เพื่อประเมินว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด เสริมด้วยรูปแบบกิจกรรม STEM  

ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ยากลำบากยิ่งขี้น  จึงต้องอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนโดยการใช้ทฤษฎี 5E  ด้วยรูปแบบกิจกรรม STEAM   ข้าพเจ้าจึงจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนเคมี  ที่มีการตื่นตัวตลอดเวลาด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล แอพลิเคชันต่าง ๆ รวมไปถึงการนำบอร์ดสมองกลฝังตัว เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียน เรียนรู้เคมีอย่างสนุก สร้างสรรค์และปลอดภัย เช่น การจัดกิจกรรมในการเรียนรู้วิชาเคมี เช่น  เทอร์โมเพลาสติกสรรสร้างนวัตกรรม ด้วย 3D Printer     ผู้เรียนสามารถนำความรู้มาปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและสร้างสรรค์ผลงานได้ โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน นอกจากนี้ยังมีการสร้าง Growth Mindset เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักและเห็นคุณค่าในตนเอง ตลอดจนสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

การสร้าง Growth Mindset ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเชื่อมั่นในตนเอง มองปัญหาอุปสรรคเป็นโอกาสสามารถเรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยนำปัญหาในชีวิตประจำวัน มาเป็นสถานการณ์ให้นักเรียนได้เรียนรู้ แก้ปัญหา ประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างจำกัด ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาช่วยในการสร้างสรรค์ชิ้นงานส่งเสริมการเป็นนวัตกร

 อีกทั้งปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจในยุคโควิดส่งผลให้หลายครอบครัวไร้งานทำ รายได้ลดลง  นักเรียนขาดเรียน เพราะต้องไปทำงานหาเงินช่วยครอบครัว   เราในฐานะเป็นครูจะมีวิธีการในการช่วยเด็ก ๆ เหล่านั้นอย่างไร ให้นักเรียนเหล่านั้นสามารถผลิตชิ้นงานหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ จากความรู้พื้นฐาน และใช้เทคโนโลยีช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยตัวเอง ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด  ช่วยให้นักเรียนมีรายได้เสริมจากการเรียนรู้แล้วนำไปประยุกต์จนเกิดนวัตกรรมที่หลากหลาย การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการตามทฤษฎีไม่สามารถพัฒนาการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ ข้าพเจ้าจึงต้องปรับการจัดการเรียนรู้ ใช้สื่อ ใช้สถานการณ์ เชื่อมกับปัญหาในชีวิตประจำวัน ข้าพเจ้าจึงได้การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เคมีอินทรีย์และพอลิเมอร์ โดยทฤษฎี 5E ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล สู่สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์  รายวิชา เคมี 5  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6     ด้วยการสอนแบบ STEM จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการสร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเอง เข้าใจกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และที่สำคัญคือช่วยส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้ที่สาหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ทั้งทักษะการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ทักษะด้านข้อมูลข่าวสารสื่อ และ เทคโนโลยี จิตวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังสร้างรายได้ให้นักเรียนและสร้างอาชีพในชุมชนได้อีก   

จากปัญหาข้างต้น ผู้จัดทำข้อตกลงได้ทำการศึกษาวิธีการแก้ปัญหาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า รูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎี 5E ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาคุณภาพการเรียนรู้ด้านสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้ เพื่อให้การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในรายวิชา เคมี 5  รหัสวิชา ว32225 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  มีคุณภาพตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนมาบอำมฤตวิทยา  เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติหรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ รวมถึงสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตลอดจนเพื่อให้เป็นไปตามค่าเป้าหมายในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ได้กำหนดไว้

ผู้จัดทำข้อตกลง จึงขอเสนอประเด็นท้าทายที่แสดงให้เห็นถึงสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการ  เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เคมีอินทรีย์และพอลิเมอร์ โดยทฤษฎี 5E ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล สู่ทักษะอาชีพ  รายวิชา เคมี 5  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล 

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

                    3.1  เชิงปริมาณ

3.1.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  จำนวน  1  ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด  24 คน ที่เรียนในรายวิชา เคมี 5  รหัสวิชา ว33225 ได้รับการแก้ปัญหาด้านสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์และพอลิเมอร์  โดยใช้ทฤษฎี 5E ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล สู่ทักษะอาชีพ   ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 60 ขึ้นไป  

3.1.2 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  จำนวน  1  ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด  24 คน

ที่เรียนในรายวิชา เคมี 5  รหัสวิชา ว33225 ได้รับการแก้ปัญหาด้านสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์และพอลิเมอร์  โดยใช้ทฤษฎี 5E ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล สู่ทักษะอาชีพ    ส่งผลให้มีสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ ในระดับดี ร้อยละ  60 ขึ้นไป  

3.2 เชิงคุณภาพ

3.2.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  จำนวน  1  ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด  24 คน

ที่เรียนในรายวิชา เคมี 5  รหัสวิชา ว33225 ได้รับการแก้ปัญหาด้านสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์และพอลิเมอร์  โดยใช้ทฤษฎี 5E ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล สู่ทักษะอาชีพ   มีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา  คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตรสูงขึ้น  

3.2.2 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  จำนวน  1  ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด  24 คน

ที่เรียนในรายวิชา เคมี 5  รหัสวิชา ว33225 ได้รับการแก้ปัญหาด้านสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์และพอลิเมอร์  

1.2.3        ได้แนวทางในการแก้ปัญหาด้านสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์และพอลิ

เมอร์โดยใช้ทฤษฎี 5E ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล  สู่ทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในรายวิชา เคมี รหัสวิชา  ว33225 ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการการแก้ปัญหาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ตลอดมีแรงบันดาลใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ตัวชี้วัด (Indicators) 

ผู้เรียนร้อยละ 70 มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของครู อยู่ในระดับมากขึ้นไป 




ผู้เรียนร้อยละ 60 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ร้อยละ 60 ขึ้นไป





คลิปวิดีโอการจัดการเรียนรู้